วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562

ใส่ EFFECT แต่งรูป


ขบวนการผสมภาพ


จัดรูปภาพแบบต่างๆ




เพลง ทานตะวัน cover by อ.พิพัฒน์ ทองระอา และ ด.ช.ศิวัช อิ่มรัตนรัก

แบบสอบถามความพึงพอใจ


QR-Code


วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562

สอน Improvise เบื้องต้น Part 1 (Major Scale) By Koh Mr.Saxman & P.Mauria...

ระบบสารสนเทศในวิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร

ระบบสารสนเทศในวิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร

1. ใช้ระบบเครือข่ายของ Uninet 1000 Mbps
2. ใช้ระบบเครือข่ายของ TOT สำหรับงานพัสดุ 100 Mbps
3. มีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 120 เครื่อง
4. WIFI 20 จุด
5. PING 3
6. DOWNLOAD 9.04
7. UPLOAD 9.81

บทความฐานข้อมูลภาษาไทย 5 เรื่อง

บทความฐานข้อมูลภาษาไทย 5 เรื่อง

1. รูปแบบวิธีการสอน: การเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียน ปี 2562

          ว่ากันว่า คุณครูที่ดีย่อมไม่หยุดพัฒนาตนเอง ต้องมองหาความรู้ใหม่ๆ รวมถึงเทคนิคการสอนที่ทันสมัยซึ่งจะช่วยให้เด็กๆมีส่วนร่วมในห้องเรียนได้มากขึ้น แต่ในหลายๆครั้งคุณเองอาจจะไม่เข้าใจคำศัพท์ที่ใช้ในทฤษฎีการสอนใหม่ๆเสียด้วยซ้ำไป  เหตุการณ์เหล่านี้เกิดได้ทั้งกับคุณครูมือใหม่และคุณครูผู้มากประสบการณ์  ดังนั้นคุณไม่ต้องกังวลกับปัญหาพวกนี้ เพียงการเปิดใจให้กว้างและรับฟังเด็กนักเรียนของคุณว่าเค้าต้องการอะไร ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในห้องเรียน  และยิ่งผสานกับเทคนิคการสอน หรือ เลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมแล้ว  จะยิ่งสามารถพัฒนาศักยภาพทางการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในห้องเรียนของนักเรียนได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งยังจุดประกายให้เด็กๆรักการเรียนรู้ในระยะยาวอีกด้วย  ด้วยเหตุนี้เองทีมงานของเรา   จึงได้สรุปรูปแบบการสอนที่ได้รับการทดสอบ  และพิสูจน์ผลลัพธ์ในห้องเรียนมาแล้วว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเด็กได้จริง  คุณไม่จำเป็นต้องใช้ทุกข้อในทันที  แค่เลือกหัวข้อที่สามารถประยุกต์เข้ากับสไตล์การสอนของคุณได้  เท่านี้ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีในการเตรียมพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน   เชื่อมโยงเรื่องราว หน้าที่หนึ่งที่คุณครูอย่างพวกเราต้องรับผิดชอบ คือการอธิบายเรื่องที่ซับซ้อนให้กลายเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย  และต้องทำให้ให้แน่ใจว่าเด็กๆจะไม่รู้สึกกดดัน หรือเครียดจนกลัวการเข้าชั้นเรียนของคุณ ฉะนั้นหากคุณสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาการสอนกับโลกใกล้ตัวที่เด็กๆสามารถพบเห็น  หรือสัมผัสประสบการณ์ได้โดยตรงในชีวิตประจำวัน  เด็กๆก็จะสามารถบูรณาการความคิดกับความรู้ที่ได้รับจากคุณได้ดียิ่งขึ้น เมื่อเค้าเริ่มคิด วิเคราะห์ และเชื่อมโยงความรู้ได้เองแล้ว ก็จะเริ่มสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนโดยอัตโนมัติจากความสนุก และความสนใจจากภายใน  เหล่านี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนที่มีพลังอย่างแท้จริง  ไม่ต่างจากการพาไปทัศนศึกษาหรือดูงานตามบริษัท ห้างร้าน หรือร้านค้า โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องรอการติดต่อจากบริษัทใหญ่ๆ เพราะองค์กรขนาดเล็กที่คุณอาจจะมีเพื่อนๆ หรือญาติทำงานอยู่นั้น ก็เป็นจุดเริ่มที่ดีที่ทำจะให้เด็กๆได้เรียนรู้ ในส่วนที่ไม่ควรมองข้าม  นักเรียนจะได้เห็นภาพรวมด้วยตนเอง ได้ฟังคำแนะนำ และเข้าใจได้ยังท่องแท้จากผู้มีประสบการณ์จริงว่า ถ้าเค้าอยากจะทำหรือเป็นอะไรที่เค้าใฝ่ฝันนั้น การที่เค้าจะต้องเริ่มจากจุดเล็กๆนั้นต้องใข้ทักษะ หรือประสบปัญหาอะไรบ้าง เด็กๆก็จะไม่มองข้ามวิชาเรียนที่เกี่ยวข้อง และเด็กๆเองก็จะได้เปิดโลกทัศน์ ได้พบมุมมองหลากหลาย และได้มีทางเลือก หรือเป้าหมายชีวิตที่แตกแขนงกิ่งก้านสาขาออกมาได้มากกว่า  อย่าลืมว่าคุณเองก็เคยรู้สึกเหมือนกันว่าทำไมไม่มีใครเคยบอก สอน หรือเล่าเกี่ยวเรื่องราวต่างๆนอกห้องเรียนให้คุณฟัง  ส่วนร่วมทางการเรียนรู้ นักเรียนทุกคนต่างมีทักษะที่โดดเด่นแตกต่างกัน การช่วยจับกลุ่มให้พวกเค้าได้ทำงาน/กิจกรรมร่วมกันในห้องเรียน และปล่อยให้พวกเค้าได้โต้เถียง หรือแสดงความคิดเห็นระหว่างกันนั้น จะช่วยพัฒนาความมั่นใจในตนเอง และกระตุ้นการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาทักษะการสื่อสารอีกด้วย เพราะคุณคงไม่อยากให้เด็กๆโตมานั่งเงียบในห้องประชุม หรือไม่กล้านำเสนอความคิดของตนเอง แต่ในขณะเดียวกันคุณก็ต้องแนะนำวิธีการเสนอแนะข้อคิดเห็นที่แตกต่างอย่างไม่ก้าวร้าว หรือศิลปะในการพูดด้วยแล้วเค้าก็จะค่อยเรียนรู้ต่อไปเอง นอกจากนั้น กิจกรรมอื่นๆอย่าง การให้แก้ปัญหาโจทย์เลข, การทดลองโครงงานทางวิทยาศาสตร์, หรือแม้แต่การแสดงหน้าห้องเรียน ก็เป็นสิ่งที่ดี ที่จะปลูกฝังให้เด็กๆรู้จักการมีส่วนร่วม
          เทคโนโลยีในชั้นเรียน การนำเทคโนโลยีสื่อการสอนเข้ามาเป็นกลยุทธ์ทางการสอนนั้น ก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะสามารถดึงความสนใจของเด็กๆในยุคนี้ได้มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อดิจิทัลมีเดียที่เข้ามามีบทบาทหลักในชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคนไปแล้วไม่ว่าจะเป็น กระดานอินเตอร์แอคทีฟบอร์ด คอมพิวเตอร์, สมาร์โฟน และ อุปกรณ์ต่างๆ  ที่จะใช้นำเสนอสื่อการสอน รูปภาพประกอบ วีดิโอ ที่จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวคิด หรือเนื้อหาบทเรียนได้ง่ายขึ้น การเรียนก็จะเป็นเรื่องสนุกเมื่อนำทคโนโลยีมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เรียนรู้จากคำถาม การสอนวิธีนี้จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งจะช่วยให้เค้าเข้าใจเนื้อหาการเรียนมากขึ้น ดังนั้นการเทคนิคการสอนแบบ
           เรียนรู้จากคำถามจะกระตุ้นให้นักเรียนเรียนรู้ได้ทันทีจากการ ตั้งคำถาม, ข้อสงสัย และทางแก้ปัญหาหรือโจท์ย โดยวิธีการค้นคว้าจากการอ่านหนังสือต่างๆและสรุปผล รายงานออกมาว่าคำตอบนั้นได้มาอย่างไร และเรียนรู้อะไรบ้าง  ฉะนั้นในการที่จะประสบความสำเร็จในศวรรตที่ 21  เราจำเป็นต้องฝึกฝนเด็กๆให้สามารถตอบคำถามที่ซับซ้อน และสามารถหาทางออกให้กับทุกๆสถานการณ์ที่เค้าจะต้องเผชิญให้ได้
ที่มา : http://www.kroobannok.com/86419

2. ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty-First Century Skills)
           สังคมโลกในศตวรรษที่ 21 มีความแตกต่างจากในอดีตมาก มีการเคลื่อนย้ายผู้คน สื่อเทคโนโลยี และทรัพยากรต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลกอย่างรวดเร็วและสะดวก มีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองระหว่างภูมิภาค ประเทศ สังคมและชุมชน มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงของความรู้และข้อมูลข่าวสารตลอดเวลาอย่างเป็นพลวัต Whitehead (1931) อธิบายว่า ในอดีตช่วงอายุของคนคนหนึ่งอาจมีเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงให้พบเห็นน้อย ต่างจากในปัจจุบัน ที่ในช่วงอายุคนคนหนึ่งมีเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคมเกิดขึ้นมากมาย วิถีชีวิตและการทำงานในศตวรรษที่ 21มีความแตกต่างจากอดีต มีความเปิดกว้าง ยอมรับ และให้ความสำคัญกับข้อมูลความรู้และข่าวสารที่หลากหลาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ผู้คนในศตวรรษนี้จึงไม่สามารถใช้ความรู้และทักษะบางอย่างในอดีตมาแก้ปัญหาในปัจจุบันได้ดี การจัดการศึกษาและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงไม่ใช่กระบวนการถ่ายทอดความรู้ แต่คือการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับผู้คน นั่นเอง
 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย
  1. ทักษะพื้นฐานในการรู้หนังสือ ได้แก่ สามารถค้นคว้า ใฝ่หาความรู้จากทรัพยากรการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านการอ่านออกเขียนได้ การคิดคำนวณ การใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ การเงิน สังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น
  2. ทักษะการคิด ได้แก่ สามารถใช้เหตุผลและความคิดในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ประเมินค่า คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างดี เป็นต้น
  3. ทักษะการทำงาน ได้แก่ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในการทำงาน การติดต่อสื่อสาร การทำงานเป็นทีม แสดงภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ดี ริเริ่มงานและดูแลตนเองได้อดทนและขยันทำงานหนัก สร้างหุ้นส่วนธุรกิจ เป็นต้น
  4. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ สามารถรับรู้ เข้าใจการใช้และการจัดการสื่อสารสนเทศ เปิดใจรับสารและเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเท่าทัน สามารถบริหารจัดการเทคโนโลยี เรียนรู้เทคนิควิทยาการต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณ และสามรถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เป็นต้น
  5. ทักษะการใช้ชีวิต ได้แก่ สามารถแสวงหาความรู้ นำตนเองในการเรียนรู้ได้ มีความมั่นใจในตัวเอง กระตือรือร้นในความรู้ เป็นผู้ผลิต มุ่งความเป็นเลิศ สามารถดำรงชีวิตด้วยความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น เป็นพลเมืองที่ดี รู้และเคารพกติกา มีระเบียบวินัย คำนึงถึงสังคม คิดถึงภาพรวมโลก มีคุณธรรม ยึดมั่นในสันติธรรม มีความเป็นไทย เข้าใจความหลายหลายทางวัฒนธรรม และแบ่งปันประสบการณ์ เป็นต้น
           การจัดศึกษาและการเรียนรู้ควรมีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาคนในฐานะพลเมืองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตอย่างสมดุล มีทักษะจำเป็นและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข มีภาวะผู้นำการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมแรงบันดาลใจให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย การเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการรังสรรค์สิ่งใหม่ๆ การเรียนรู้เพื่อปลูกฝังจิตสาธารณะ ยึดประโยชน์ส่วนรวม และการเรียนรู้เพื่อการนำไปปฏิบัติ มุ่งสร้างการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ พึ่งพาตนเองได้ และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ทั้งนี้ หลักสูตรและวิธีการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มิใช่การจดจำเนื้อหาวิชา เน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริงและลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรงและต่อยอดความรู้นั้นได้ด้วยตนเอง ผู้สอนต้องสามารถสร้างและออกแบบสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่มีบรรยากาศเกื้อหนุนและเอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย การเชื่อมโยงความรู้หรือแลกเปลี่ยนความรู้กับชุมชนและสังคมโดยรวม จัดการเรียนรู้ผ่านบริบทความเป็นจริง และการสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าถึงสื่อเทคโนโลยี เครื่องมือ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
 ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในบริบทห้องเรียน
           หลักสูตรและการเรียนการสอนทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูผู้สอนควรให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่ระบุข้างต้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ความรู้และทักษะในรายวิชาต่างๆที่หลากหลาย โดยควรเน้นที่การจัดการเรียนการสอนตามทักษะ/สมรรถนะ (competency-based approach) นำวิธีการและนวัตกรรมการเรียนรู้โดยการบูรณาการเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์และทักษะการคิดขั้นสูง และการใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญ (inquiry- and problem-based approaches) กระตุ้นและสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยการระดมสรรพกำลังและทรัพยากรการเรียนรู้ในชุมชนมาสนับสนุนการเรียนการสอน
            การประเมินผลการจัดการเรียนรู้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมและสนับสนุนการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้อย่างสมดุลและเหมาะสม อาทิ การใช้แบบทดสอบตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสากล ควบคู่กับการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงในห้องเรียน อีกทั้งควรให้ความสำคัญกับการให้การสะท้อนกลับ (Feedback) หรือผลการประเมินความสามารถของผู้เรียนที่เป็นประโยชน์ทุกครั้งที่มีการประเมินผลการเรียนรู้ การนำเทคโนโลยีการช่วยในการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้สอดคล้องตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ ควรให้ผู้เรียนได้วางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเองและสร้างผลงานผ่านการใช้แฟ้มผลงาน (Portfolio) เพื่อยกระดับการเรียนรู้ตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
           บรรยากาศการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนต้องสร้างการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริงให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม อาทิ การเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐาน หรือการประยุกต์ใช้ในการทำงาน เป็นต้น และการสร้างชุมชนการเรียนรู้ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเพื่อนครูเพื่อบูรณาการทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในบริบทห้องเรียน นำเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์การเรียนรู้เข้ามาช่วยในการเรียนรู้ของผู้เรียน การออกแบบการจัดเรียนการสอนให้มีความหลากหลาย อาทิ การเรียนรู้แบบรายบุคคล แบบกลุ่มและแบบทีม สนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านทรัพยากรและช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในห้องเรียนและการเรียนรู้แบบออนไลน์ และจัดให้มีการเชื่อมต่อการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนรู้ในประเทศและระหว่างประเทศ เป็นต้น
          จะเห็นได้ว่า การพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นั้น ต้องให้ความสำคัญกับทั้งระบบ โดยการบูรณาการประเด็นดังกล่าวในมาตรฐานการจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล หลักสูตรการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และการพัฒนาครูผู้สอน เพื่อก่อเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่จำเป็นและการพัฒนาผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่พึงประสงค์ ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การให้ความสำคัญกับกิจกรรมเสริมหลักสูตรทั้งในระบบ นอกระบบ และอัธยาศัยเป็นการช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี
         การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ภาคส่วนต่างๆ ในสังคม อาทิ ครอบครัว สถาบันการศึกษา องค์กร ชุมชน จำเป็นต้องปรับหลักคิดและหลักปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพบุตรหลาน ผู้เรียน บุคคลากร และประชาชนให้เป็นผู้ที่มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อการดำเนินชีวิตและการทำงานที่ประสบความสำเร็จและมีความสุข โดยมุ่งที่การส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อรู้ (Learning to Know) เน้นองค์ความรู้ การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติจริง (Learning to Do) เน้นการพัฒนาทักษะ พัฒนาสมรรถนะ และศักยภาพตนเอง การเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to Be) เป็นการพัฒนาทักษะชีวิตอย่างเป็นองค์รวม และการปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน (Learning to Live Together) เน้นการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ พึ่งพากันและกัน การเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลง (Learning to Change) พัฒนาศักยภาพทางความคิด การตัดสินใจ และการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้เพื่อความยั่งยืน (Learning for Sustainable) สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสม
3. การศึกษาที่คำนึงถึงผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child-centric Education)

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD)
kriengsak@kriengsak.com,http://www.kriengsak.com


            ตลอดระยะเวลาการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยเราตั้งแต่แรกเริ่มที่มีการจัดการศึกษาอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จนกระทั่งปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าพัฒนาดีขึ้นตามลำดับ พร้อมกับมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงตามบริบทสภาพแวดล้อมทางสังคมอย่างเป็นพลวัต แม้บางช่วงระยะเวลาต้องผ่านการล้มลุกคลุกคลานบ้าง
              ที่ผ่านมาประเทศไทยในระยะหลังเรามีความพยายามปฏิรูปการศึกษาเป็นระยะเวลามากกว่า ๒๐ ปี การปฏิรูปดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบเชิงบวกทำให้เกิดความทั่วถึงเชิงปริมาณ ประชาชนเข้าถึงการศึกษามากขึ้น แต่หากพิจารณามิติเชิงคุณภาพกลับพบว่า การศึกษาของประเทศไทยเรายังด้อยคุณภาพหรือต่ำกว่ามาตรฐานอยู่มากทุกระดับตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนกระทั่งระดับอุดมศึกษา
              จากสถิติของกระทรวงศึกษาธิการพบว่า แต่ละปีรัฐทุ่มงบประมาณทางการศึกษาเป็นจำนวนมหาศาล แต่การบริหารจัดการงบประมาณดังกล่าวยังไม่สามารถสร้างให้เกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจนทางด้านการศึกษา สะท้อนให้เห็นบางส่วนจากปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ยังขาดคุณภาพไม่สามารถจัดการศึกษาได้ตามมาตรฐาน ระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษาผลิตกำลังคนไม่สอดคล้องตรงกับความต้องการทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ มีบัณฑิตว่างงานจำนวนมากในแต่ละปี เหล่านี้เป็นตัวอย่างสภาพปัญหาที่เรื้อรังมาเป็นระยะเวลายาวนานในระบบการศึกษาของประเทศ
              สถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นนำสู่ประเด็นคำถามสำคัญประการหนึ่งเกี่ยวกับแนวทางการจัดการศึกษาที่พึงประสงค์ภายใต้สภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของประเทศและสถานการณ์โลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยปัจจุบันและอนาคตที่การศึกษาถูกคาดหวังให้ต้องทำบทบาทหน้าที่เป็นแหล่งผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการและสนับสนุนทิศทางการพัฒนาประเทศ เป็นที่พึ่งให้แก่ประเทศชาติและสังคมทางด้านการพัฒนากำลังคนอย่างแท้จริง เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่มีการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ อาทิ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟินแลนด์ ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา เป็นต้น
              การเสริมสร้างสมรรถนะและพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพจึงเป็นประเด็นสำคัญทางด้านการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพและการทำงาน หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวนี้ อาทิ ประเทศฟินแลนด์ การศึกษามีเป้าหมายมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะที่สามารถรองรับกับโลกยุคสมัยปัจจุบันและอนาคต ประเทศสวีเดน โรงเรียนมีการร่วมมือกับสถานประกอบการและสถาบันอุดมศึกษา จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงาน การเลือกวิชา และอาชีพในอนาคต ให้แก่เด็กนักเรียน  
              ปัจจุบันแวดวงการศึกษาและวิชาการมีการให้ความสำคัญกับการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child-centred Education) อันเป็นลักษณะของการศึกษาที่ให้ผู้เรียนเป็นความสำคัญสูงสุดในกระบวนการเรียนการสอน เคารพผู้เรียนแต่ละบุคคลและความแตกต่างของผู้เรียน อาทิ การจัดบรรยากาศการเรียนการสอนให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเอง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งระหว่างผู้เรียนกับครูผู้สอนและระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง การให้ผู้เรียนเลือกทำโครงงานตามความถนัดและความสนใจ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีอิสระ เป็นต้น โดยครูผู้สอนจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่ของตนเองให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนการสอนดังกล่าว อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา ครูผู้สอนโดยส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนตนเองไปเป็นผู้อำนวยความสะดวกทางด้านการเรียนรู้ เป็นต้น  
              แม้ว่าการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญดังกล่าวนี้จะมีความสำคัญ แต่การเตรียมผู้เรียนให้สามารถอยู่รอดได้ในโลกยุคสมัยปัจจุบันและอนาคตที่ตลาดการแข่งขันคาดว่าจะมิได้ขึ้นอยู่กับแรงงานราคาถูกอีกต่อไป แต่จะขึ้นอยู่กับแรงงานที่มีสมรรถนะและศักยภาพตามที่ตลาดต้องการ การศึกษาในฐานะเป็นแหล่งสร้างกำลังคนที่สำคัญต้องเป็นเครื่องมือเปลี่ยนผ่านสมรรถนะกำลังคน พัฒนาตนเองสู่การเป็นการศึกษาที่คำนึงถึงผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child-centric Education) อันจะเป็นประโยชน์ช่วยให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะและศักยภาพอย่างเต็มที่ เป็นผู้เรียนที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้บรรลุสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์แท้จริง
              การศึกษาที่คำนึงถึงผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการศึกษาที่มีกระบวนการเรียนการสอนที่คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนรายบุคคล มุ่งเสริมสร้างสมรรถนะและส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบและได้รับการพัฒนาตรงตามศักยภาพของตนเองมากที่สุด ทั้งนี้การนำความคิดการศึกษาที่คำนึงถึงผู้เรียนเป็นศูนย์กลางดังกล่าวนี้มาใช้กับบริบทของประเทศไทยควรมีการประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมความเป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนาดของห้องเรียนที่มีความเหมาะสม อันจะมีส่วนช่วยให้ครูผู้สอนรู้จักและสามารถพัฒนาผู้เรียนลงลึกเป็นรายบุคคลได้อย่างแท้จริง
              กล่าวโดยสรุปก็คือ การจัดการศึกษาของประเทศเราควรเป็นการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการสนองตอบความต้องการของตลาดแรงงานที่คาดว่าจะมีความเฉพาะเจาะจงและชัดเจนมากยิ่งขึ้นในอนาคต เป็นการศึกษาที่มีส่วนเสริมสร้างสมรรถนะ และช่วยให้ผู้เรียนค้นพบและได้รับการพัฒนาตรงตามศักยภาพของตนเองมากที่สุด อันจะไม่เพียงเป็นประโยชน์เฉพาะต่อตัวผู้เรียนเองเท่านั้น แต่ยังจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคมส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกยุคสมัยปัจจุบันและอนาคตที่ศักยภาพการแข่งขันของประเทศมิได้ขึ้นอยู่กับการมีแรงงานราคาถูกอีกต่อไป แต่ขึ้นอยู่กับการมีแรงงานที่มีสมรรถนะและศักยภาพตรงตามที่ตลาดต้องการ
4.‘โรงเรียนร่วมพัฒนา’ สะท้อนปัญหา ‘โรงเรียนทั่วไป’

           

บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ภาษาไทย 5 เรื่อง

บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ภาษาไทย 5 เรื่อง    

 1.การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยอง จันทบุรี

 และตราด

    ชื่อผู้แต่ง วริศรา  บุญธรรม



              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และ
ขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด จำนวน 361 คน ได้มาด้วยวิธีการใช้ตารางเทียบของเครจซี่ แล
ะมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21.-.0.44
 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย 
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test).การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One.-.way.ANOVA).และตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการตรวจสอบความแตกต่าง
ของเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษา ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการ
เปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยอง จันทบุรี
 และตราด จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัย
สำคัญทางสถิติ 
3) ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยอง จันทบุรี
 และตราด จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา.โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05
2.การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี 
ระยอง และตราด
ชื่อผู้แต่ง ศราวุธ ทองอากาศ
บทคัดย่อ (Abstract)
         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด จำแนกตามสถานภาพ และขนาดของ
สถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในจังหวัด
จันทบุรี ระยอง และตราด จำนวน 358 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบกลุ่ม
ตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน
 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่า
อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.26 - 0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และตรวจสอบ ความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการ
ตรวจสอบความแตกต่างของเชฟเฟ่ (Schffe) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของ
ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดจันทบุรี
 ระยอง และตราด จำแนกตามสถานภาพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
3) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดจันทบุรี
 ระยอง และตราด จำแนกตามสถานภาพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

3.การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17
ชื่อผู้แต่ง สุภาพร ภูสมที
บทคัดย่อ (Abstract)
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสึกษาและเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 317 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 39 คน และครูผู้สอน จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และได้ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.38 - 0.90 ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการตรวจสอบความแตกต่างของเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมาก
ไปหาน้อย 3 ลำดับคือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการคำนึงถึงการเป็นปัจเจกบุคคล 2) ผลการเปรียบเทียบ บทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำแนก
ตามสถานภาพ โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ผลการเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

4.ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู
ชื่อผู้แต่ง อรพรรณ เทียนคันฉัตร
บทคัดย่อ (Abstract)
         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา
 2) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏืบัติงาน ของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม
ของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำ
เชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสถานสึกษา สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 ปีการศึกษา 2559 โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 326 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรา
ส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิง
พฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 48 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .30 ถึง .73 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .95 ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
ของครูจำนวน 25 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .35 ถึง .83 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .95 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

5.การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ความเป็นพลเมืองโลก
ชื่อผู้แต่ง ดร. พูนภัทรา พูลผล

บทคัดย่อ (Abstract)

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานเพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ความเป็นพลเมืองโลก แนวคิดในการวิจัยประกอบด้วย แนวคิดการ
บริหารงานวิชาการ 5 ด้านคือ 1) หลักสูตร 2) การจัดการเรียนการสอน 3) การนิเทศการสอน
 4) การวัดและประเมินผล และ 5) การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา แนวคิดเรื่องความเป็นพลเมือง
โลก (Global Citizenship) แนวคิดกระบวนการบริหารคุณภาพ PDCA และแนวคิดเกี่ยวกับการ
พัฒนารูปแบบการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานวิชากา
รจากเอกสารด้วยการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจากสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าร่วมในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล ของสำนักบริหาร
งานการมัธยมศึกษาตอนปลายในปี 2553 จำนวน 500 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา
 ครูและบุคลากรทางการศึกษา นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อร่างรูปแบบการบริหาร
งานวิชาการ ตรวจสอบและประเมินรูปแบบด้านความถูกต้อง ความเหมาะสมและความเป็นไปได้กับโรงเรียนในต่างประเทศที่มีการบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก นำข้อเสนอแน
ะที่ได้มาปรับปรุงรูปแบบให้มีความสมบูรณ์และสามารถนำไปใช้ได้จริง

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ 5 เรื่อง

1.Reaching Out to Students from Title I Schools
Abstract:  A university's literacy festival can promote reading and foster the idea that books make a difference, especially to undersupported students from Title I schools. A literacy festival featuring a variety of diverse authors presenting hands-on workshops showcasing their literary craft can enable students from Title I schools to engage with the authors and can motivate students from diverse backgrounds to develop an excitement for reading. It can also motivate teachers and librarians to use literature that reflects their population to engage students in reading and can transform teacher candidates' understanding of students from diverse backgrounds. The authors describe how a university College of Education's literacy festival was implemented and explore how it provided an opportunity for children in low-socioeconomic-status communities to be exposed to books and authors of quality children's literature.
https://eric.ed.gov/?q=motivate&id=EJ1200934

2.Teachers' intrinsic vs. extrinsic instructional goals predict their classroom motivating styles

Abstract:  We introduce the concept of teachers' intrinsic vs. extrinsic instructional goals and demonstrate its contribution to teachers' classroom motivating styles using independent samples across four studies. Based on self-determination theory, we hypothesized that the more teachers adopted intrinsic instructional goals the more they would rely on an autonomy-supportive motivating style, and the more they adopted extrinsic instructional goals the more they would rely on a controlling motivating style. Because no measure existed to assess intrinsic vs. extrinsic instructional goals, we created the new 4-scale, 16-item Teacher Goals Questionnaire (TGQ) in Study 1, using a pool of 72 candidate items and data from 212 fulltime K-12 teachers. In Study 2, we demonstrated the TGQ's construct and factorial validity by sampling 149 fulltime K-12 teachers. In Study 3, we tested our hypothesized model by sampling 147 fulltime K-12 teachers who reported their instructional goals on the TGQ and their motivating styles on two separate measures. Structural equation modeling analyses confirmed the hypothesized model. In Study 4, we replicated the findings from Study 3, using a multilevel sample (92 secondary teachers, 2749 students), a longitudinal research design, and student measures of teachers' motivating styles. The discussion focuses on instructional goals as key antecedents of teachers' classroom motivating styles.

3.Open Badges: Novel Means to Motivate, Scaffold and Recognize Learning


Abstract: This report is centered on the emerging concept and technology of Open Badges (OBs) that are offering novel means and practices of motivating, scaffolding, recognizing, and credentialing learning. OBs are closely associated with values such as openness and learners’ agency, participatory learning and peer-learning communities. This report points to the distinctive features of OBs and how they have positioned OBs as suitable candidates for addressing some of the pressing challenges in the context of lifelong learning, including (but not limited to) (1) recognition of learning in multiple and diverse environments that go beyond traditional classrooms; (2) recognition of diverse kinds of skills and knowledge, including soft and general skills; (3) support for alternative forms of assessment; (4) the need for transparent and easily verifiable digital credentials. The report also offers an overview of the major issues and challenges that might delay or even prevent widespread adoption of this emerging technology.

4. How To Motivate Students To Study before They Enter the Lab

Abstract:  Laboratory exercises constitute an important part of chemical and biochemical courses at the university level. Nevertheless, students frequently are insufficiently prepared for the practical work, which often reduces their work to the level of a technician. A system designed to motivatestudents to study prior to the laboratory exercise was introduced. Initial sessions and preliminary tests were held prior to the exercises. As a consequence students studied more before the exercise than in the previous system. The time burden for students was not considerably increased, since the reports were shortened and written immediately after the exercise. Communication between students and teaching assistants, which was also a weak point of the previous system, improved. Students performed significantly better on the final exam and exhibited a positive attitude towards the changes.


5.Effective motive profiles and swarm compositions for motivated particle swarm optimisation applied to task allocation

Abstract: This paper examines the behaviour of agents with four distinct motive profiles with the aim of identifying the most effective profiles and swarm compositions to aid task discovery and allocation in a motivated particle swarm optimisation algorithm. We first examine the behaviour of agents with affiliation, achievement and power motive profiles and the impact on behaviour when these profiles are perturbed. We then examine the behaviour of swarms with different compositions of agents motivated by affiliation, achievement, power and a new leadership motive profile. Results show that affiliation-motivated agents tend to perform local search and allocate themselves to tasks. In contrast, power-motivated agents tend to explore to find new tasks. These agents perform better in the presence of achievement-motivated agents, informing the design of the leadership motive profile, which demonstrates good performance in two task allocation settings studied in this paper.

e-Protflio


 ชื่อ นายพิพัฒน์  ทองระอา(Pipat Thongraar)
วุฒิการศึกษา 1. จบปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต เอกดนตรีสากล วิทยาลัยครูจันทรเกษม
                         2. จบระดับปริญญาโท เอกการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยธนบุรี
สถานที่ทำงาน วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ สอนวิชาดนตรีสากล
หัวหน้าแผนกวิชาคหกรรมศาสตร์-ศิลปกรรม
หัวหน้าหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น
ทำหน้าที่รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา
ความสามารถพิเศษ เล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้นและร้องเพลงได้
อาชีพเสริม เล่นดนตรีอาชีพตามสถานบันเทิง
ผลงาน
      1.ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ประเภทวงสตริง ชื่อวง CTC 90 ตัวแทนจากวิทยาลัยครูจันทรเกษม ในการประกวดดนตรีเยาวชน ชิงถ้วยพระราชทานThailand Coke Music Awarsd 1990 ครั้งที่ 1
      2. เป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันทักษะ ประเภท การประกวดการร้องเพลง การประกวดวงดนตรีสากลคนพันธ์R วงดนตรีโฟล์คซองคนพันธ์R ระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับชาติ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
เบอร์โทร 0814970279   
email ppt.thong6511@gmail.com