วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ภาษาไทย 5 เรื่อง

บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ภาษาไทย 5 เรื่อง    

 1.การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยอง จันทบุรี

 และตราด

    ชื่อผู้แต่ง วริศรา  บุญธรรม



              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และ
ขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด จำนวน 361 คน ได้มาด้วยวิธีการใช้ตารางเทียบของเครจซี่ แล
ะมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21.-.0.44
 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย 
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test).การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One.-.way.ANOVA).และตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการตรวจสอบความแตกต่าง
ของเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษา ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการ
เปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยอง จันทบุรี
 และตราด จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัย
สำคัญทางสถิติ 
3) ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยอง จันทบุรี
 และตราด จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา.โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05
2.การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี 
ระยอง และตราด
ชื่อผู้แต่ง ศราวุธ ทองอากาศ
บทคัดย่อ (Abstract)
         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด จำแนกตามสถานภาพ และขนาดของ
สถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในจังหวัด
จันทบุรี ระยอง และตราด จำนวน 358 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบกลุ่ม
ตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน
 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่า
อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.26 - 0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และตรวจสอบ ความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการ
ตรวจสอบความแตกต่างของเชฟเฟ่ (Schffe) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของ
ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดจันทบุรี
 ระยอง และตราด จำแนกตามสถานภาพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
3) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดจันทบุรี
 ระยอง และตราด จำแนกตามสถานภาพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

3.การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17
ชื่อผู้แต่ง สุภาพร ภูสมที
บทคัดย่อ (Abstract)
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสึกษาและเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 317 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 39 คน และครูผู้สอน จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และได้ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.38 - 0.90 ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการตรวจสอบความแตกต่างของเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมาก
ไปหาน้อย 3 ลำดับคือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการคำนึงถึงการเป็นปัจเจกบุคคล 2) ผลการเปรียบเทียบ บทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำแนก
ตามสถานภาพ โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ผลการเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

4.ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู
ชื่อผู้แต่ง อรพรรณ เทียนคันฉัตร
บทคัดย่อ (Abstract)
         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา
 2) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏืบัติงาน ของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม
ของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำ
เชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสถานสึกษา สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 ปีการศึกษา 2559 โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 326 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรา
ส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิง
พฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 48 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .30 ถึง .73 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .95 ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
ของครูจำนวน 25 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .35 ถึง .83 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .95 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

5.การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ความเป็นพลเมืองโลก
ชื่อผู้แต่ง ดร. พูนภัทรา พูลผล

บทคัดย่อ (Abstract)

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานเพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ความเป็นพลเมืองโลก แนวคิดในการวิจัยประกอบด้วย แนวคิดการ
บริหารงานวิชาการ 5 ด้านคือ 1) หลักสูตร 2) การจัดการเรียนการสอน 3) การนิเทศการสอน
 4) การวัดและประเมินผล และ 5) การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา แนวคิดเรื่องความเป็นพลเมือง
โลก (Global Citizenship) แนวคิดกระบวนการบริหารคุณภาพ PDCA และแนวคิดเกี่ยวกับการ
พัฒนารูปแบบการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานวิชากา
รจากเอกสารด้วยการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจากสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าร่วมในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล ของสำนักบริหาร
งานการมัธยมศึกษาตอนปลายในปี 2553 จำนวน 500 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา
 ครูและบุคลากรทางการศึกษา นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อร่างรูปแบบการบริหาร
งานวิชาการ ตรวจสอบและประเมินรูปแบบด้านความถูกต้อง ความเหมาะสมและความเป็นไปได้กับโรงเรียนในต่างประเทศที่มีการบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก นำข้อเสนอแน
ะที่ได้มาปรับปรุงรูปแบบให้มีความสมบูรณ์และสามารถนำไปใช้ได้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น